ต้นลิ้นฟ้า

ชื่อภาษาอังกฤษ

Broken bones tree , Damocles tree, Indian trumpet flower

ชื่อวิทยาศาสตร์

Oroxylum indicum (L.) Kurz

ความหมาย

ต้นลิ้นฟ้ามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เพกา” ลิ้นฟ้าหรือเพกา จัดเป็นพืชในวงแคหางด่าง ไม้ยืนต้นชนิดผลัดใบและไม่ผลัดใบ

ความเชื่อ

คนสมัยโบราณมีความเชื่อว่าห้ามปลูกต้นเพกาไว้บริเวณบ้านเพราะฝักเพกามีรูปร่างคล้ายดาบหรือปลายหอก อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนและเลือดตกยางออกแก่เจ้าของบ้านได้

ราคาโดยเฉลี่ย(กล้าไม้,เมล็ดพันธุ์,ไม้ล้อม)

ต้นลิ้นฟ้าหรือต้นเพกา

ต้นลิ้นฟ้ามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เพกา” ลิ้นฟ้าหรือเพกา จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในด้านของการรักษาโรค อีกทั้งยังนิยมนำฝักอ่อนหรือยอดอ่อนมารับประทานคู่กับน้ำพริก เนื่องจากมีรสชาติของความกรอบนุ่มอร่อยและมีรสขมเล็กน้อย โดยลิ้นฟ้าหรือเพกาเป็นพืชดั้งเดิม ที่สามารถพบเจอได้ในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า มาเลเซียลาว และประเทศไทยของเราเอง เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยของเราสามารถพบการแพร่กระจายได้ในช่วงทุกภาคหรือในทุกจังหวัด 

ต้นเพกา ลิ้นฟ้า
https://arit.kpru.ac.th

ข้อมูลทั่วไปของต้นลิ้นฟ้าหรือต้นเพกา

  • ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ Oroxylum indicum (L.) Kurz
  • ชื่อภาษาอังกฤษ คือ  Broken bones tree , Damocles tree, Indian trumpet flower
  • ชื่อวงศ์ Bignoniaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นลิ้นฟ้าหรือเพกา

ต้น

ต้นลิ้นฟ้าหรือเพกา จัดเป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดผลัดใบและไม่ผลัดใบ หากเติบโตในที่ชุ่มจะไม่ผลัดใบ โดยใบมีสีเขียวที่บริเวณปลายยอด ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้บนพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และหากผลัดใบจะเหลือเพียงแค่ลำต้นกิ่งและก้านเท่านั้นเพกาหรือลิ้นฟ้านั้นเป็นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีลำต้นเรียวยาว เล็ก ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งจะแตกที่บริเวณปลายยอดทำให้แลดูไม่เป็นทรงพุ่ม ในส่วนเปลือกของลำต้นจะมีผิวขรุขระ และแตกออกเป็นสะเก็ด เปลือกของลำต้นมีสีครีมและบาง ลำต้นมีฝ้าสีขาวหรือราปกคลุม ส่วนเนื้อไม้มีสีขาวขุ่น

ใบ

ต้นเพกา ลักษณะ
https://puechkaset.com

ใบเพกาหรือลิ้นฟ้า มีลักษณะเป็นใบประกอบ 2 ชั้น ชั้นแรกเป็นก้านใบหลักที่แตกออกตรงข้ามกันเป็นคู่บนลำต้นบริเวณปลายยอด ส่วนที่ 2 เป็นใบย่อยที่แตกออกเป็นคู่ ตรงกันข้ามบนก้านใบหลัก มีประมาณ 3-5 คู่ และมีก้านใบย่อยอีก 1 ก้านที่ปลายก้านหลัก รวมแล้วประมาณ 7-11 ก้าน โดยแต่ละก้านใบจะประกอบด้วยใบย่อยเรียงกันเป็นคู่ตรงข้ามกันประมาณ 3-5 คู่ ใบย่อยเป็นรูปหัวใจยาวมีความกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตรและยาว 8-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมนและเว้าเข้าตรงกลาง ใบมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบด้านล่างมีสีเขียวอ่อน ขอบใบเรียบมีเส้นกลางใบและเส้นย่อยซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน

ดอก

เพกา ข้อควรระวัง
https://puechkaset.com

ลักษณะของดอกเพกาหรือดอกลิ้นฟ้า จะออกดอกที่บริเวณช่อปลายยอด โดยมีความยาวของก้านช่อประมาณ 0.8-1.5 เมตร ดอกเรียงซ้อนกันประมาณ 20-30 ดอก ที่ปลายก้านช่อดอก แต่ละดอกก้านจะยาว 5-15 ซนติเมตร ดอกเพกาหรือลิ้นฟ้ามีลักษณะเป็นหลอดของกลีบเลี้ยง โดยกลีบดอกจะมีสีเขียวหุ้มไว้ เมื่อดอกแก่ปลายกลีบดอกจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วงและดอกใหญ่ขึ้น เมื่อดอกบานจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม ส่วนด้านในเป็นสีครีม ทั้งนี้ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร ปลายกลีบไม่แยกเป็นแฉกและย่นเป็นลูกคลื่นโค้งพับลงด้านล่าง ส่วนด้านในของดอกประกอบด้วยเกสรตัวผู้เรียงกัน 5 อัน มีละอองเกสรจำนวนมาก ส่วนก้านเกสรตัวเมียเพียงแค่ 1 อันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ดอกลิ้นฟ้าหรือเพกาจะค่อยๆ ทยอยบานจากดอกล่างไปสู่ดอกที่อยู่ปลายช่อและจะบานในตอนกลางคืนหรือรุ่งสาง

ผล

ต้นเพกา ความเชื่อ
https://puechkaset.com

ต้นเพกาหรือลิ้นฟ้า มีลักษณะเป็นฝัก โดยฝักแบนยาว คล้ายดาบจีนโบราณมีความกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตรและยาว 15-120 เซนติเมตร ปลายฝักแหลม โคนสอบเปลือกฝักหนา ฝักอ่อนมีสีเขียวสด นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งจะมีเนื้อแน่นกรอบและมีรสขมเล็กน้อย ฝักแก่จะมีสีเขียวอมดำ ซึ่งจะไม่นิยมนำมารับประทานเพราะจะมีเนื้อที่แข็งและเหนียวฝักแก่จะแห้งกลายเป็นสีดำและแตกออกเป็น 2 ซีก ส่วนด้านในจะมีเมล็ดจำนวนมาก เรียงอัดกันแน่นอยู่เมล็ดเพกามีลักษณะแบน สีดำอมน้ำตาล ถูกหุ้มด้วยเยื่อสีขาวอมเหลืองแผ่นบางๆ ล้อมรอบ เมล็ดจะปลิวตามแรงลมไปตกไกลจากต้น

สรรพคุณของเพกาหรือลิ้นฟ้า

ฝักอ่อน

  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยบำรุงสายตาและบำรุงธาตุ
  • ลดอาการอักเสบหรืออาการเจ็บคอ
  • ช่วยบรรเทาอาการไอและลดเสมหะ
  • รักษาโรคในระบบทางเดินอาหารและรักษาโรคท้องร่วงหรือโรคท้องเสีย
  • ช่วยรักษาแผลในช่องปาก
  • มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ
  • แก้อาการร้อนใน
  • ช่วยรักษาโรคมะเร็งหรือต้านโรคมะเร็ง

เมล็ด

  • ช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ
  • ช่วยแก้อาการฟกช้ำหรือแก้กระหายน้ำ
  • มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยขับสารพิษในลำไส้

ยอดอ่อนหรือใบอ่อน

  • ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด
  • แก้อาหารเป็นพิษ
  • ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด
  • สมานแผลหรือรักษาแผลภายนอกให้หายเร็ว

เปลือกและแก่น

  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยแก้อาการร้อนในหรือพกช้ำตามร่างกาย
  • บรรเทาอาการไอและเจ็บคอ
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • ช่วยขับลม

ราก

  • หากนำมาฝนหรือบดและประคบจะช่วยรักษาอาการปวดบวมของฝี
  • ช่วยสมานแผลทำให้แผลหายเร็ว
  • ช่วยขับเหงื่อหรือสารพิษในร่างกาย
  • ช่วยให้เจริญอาหาร

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นลิ้นฟ้าหรือเพกา

คนสมัยโบราณมีความเชื่อว่าห้ามปลูกต้นเพกาไว้บริเวณบ้านเพราะฝักเพกามีรูปร่างคล้ายดาบหรือปลายหอก อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนและเลือดตกยางออกแก่เจ้าของบ้านได้ ในขณะเดียวกันคนจีนก็จะเรียกต้นเพกาว่า “กระดาษพันใบ”เพราะลักษณะของเมล็ดที่มีปีกสีขาวซ้อนกันอยู่ ก้านฝักเพกาชูสูงขึ้น ส่วนยอดของลำต้นจะมีฝักแบนใหญ่ห้อยลงมาแลดูคล้ายลิ้นขนาดใหญ่ที่ห้อยอยู่ ชาวอีสานจึงเรียกเหตุการณ์ว่า “ลิ้นฟ้า” นั่นเอง อีกอย่างหนึ่งฝักเพกามีชื่อเรียกเหล็กประดับยอดพระปรางค์มี 10 กิ่ง มีรูปร่างที่คล้ายกับฝักเพกา จึงรับเป็นของสูงที่ไม่ควรนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านเช่นเดียวกับต้นโพธิ์ หรือต้นไทร แต่สามารถนำไปปลูกไว้ที่สวน ไร่ นาหรือบริเวณรั้วบ้านได้ไม่ถือสาอะไร

ลิ้นฟ้าหรือเพกา จัดเป็นพืชในวงแคหางด่าง มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นอื่นๆ มากมาย อย่างเช่น ชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก ชาวจังหวัดนราธิวาสเรียกว่า มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ในขณะที่ภาคเหนือหรือภาคอีสานจะเรียกว่าต้นลิ้นฟ้าและภาคกลางจะเรียกว่าต้นเพกา งานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับการวิจัยมาแล้วทางการแพทย์พบว่าเพกาหรือลิ้นฟ้า มีสารสกัดฟลาโวนอยด์ ที่ได้จากบริเวณเปลือกของลำต้น มีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ ลดอาการแพ้ อีกทั้งยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้น การรับประทานฝักเพกายังสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้อีกด้วย นอกจากนั้น อ้างอิงจากงานวิจัยสาธารณสุขยังพบว่าเมล็ดเพกาเป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการไอช่วยขับเสมหะ สามารถนำเมล็ด 1 กำมือไปต้มใส่หม้อเติมน้ำ 300 มิลลิลิตร และต้มด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1 แก้ววันละ 3 ครั้ง จะช่วยแก้อาการไอให้ดีขึ้นได้ นอกจากเพกาหรือลิ้นฟ้าจะมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรไทยแล้วยังขึ้นชื่อว่าเป็นยาสมุนไพรจีนที่ได้รับความนิยมอีกด้วย

ลิ้นฟ้าประโยชน์

การปลูก และการขยายพันธุ์ต้นลิ้นฟ้า หรือเพกา

สำหรับวิธีการปลูกหรือการขยายพันธุ์เพกา สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด โดยเลือกเมล็ดจากฝักแก่หรือฝักแห้งที่มีสีดำ โดยให้เก็บเมล็ดไว้ซัก 2-3 เดือนก่อนนำเมล็ดมาเพาะ หลังจากฝักแก่แล้วเมล็ดเพกาจะเข้าสู่ระยะฟักตัวอยู่ช่วงหนึ่ง หากนำเมล็ดไปเพราะหลังจากที่ฝักแก่เลย โดยไม่เก็บไว้จะมีอัตราการงอกต่ำ ดังนั้น จึงควรทิ้งให้ฝักแก่สักระยะหนึ่งก่อน การเพาะเมล็ดควรใช้ถุงเพาะชำ เพื่อให้สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้อย่างสะดวก หลังจากนำเมล็ดไปตากแดดประมาณ 2-3 วัน แล้วค่อยนำมาเพาะ วัสดุการเพาะควรใช้ดินผสมกับวัตถุอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก แกลบดำและปุ๋ยหมัก หากไม่สะดวก ให้ใช้เพียงปุ๋ยคอกอย่างเดียวก็ได้ อัตราส่วนดิน ปุ๋ยคอกและแกลบดำจะอยู่ที่ 1 : 3 : 1 หลังจากนำเมล็ดลงไปเพาะแล้ว กลบดินและรดน้ำให้ชุ่ม ควรรดน้ำทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง จนกว่าต้นจะงอกและแตกใบออกเป็น 2 ข้อสามารถย้ายลงไปปลูกในแปลงได้ การปลูกเพกานิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เมื่อต้นกล้าแตกออกได้ 2 ข้อแล้ว สามารถย้ายลงไปปลูกในแปลงที่มีระยะห่าง 4×4 เมตร ขุดหลุมขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร และลึก เซนติเมตร ก่อนรองหลุมด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 3-5 กำมือ และปุ๋ยสูตรเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือ พร้อมขุดหน้าดินผสมกันก่อนจะนำกล้าเพกาลงไปปลูก

ที่มา

https://www.phargarden.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *