“พิทักษ์หวงแหน” ชั้น ป.6

สาระสำคัญ

           ระบุวิธีการดูแลรักษาพรรณไม้พื้นบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณต่าง ๆของจังหวัดจากข้อมูลที่รวบรวมได้

มาตรฐาน 

           ผู้เรียนเห็นความสำคัญและคุณค่าที่ดีต่อการหวงแหนพฤกษศาสตร์ และทรัพยากรในท้องถิ่นของตน และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความเป็นไทยที่มีมรดกทางวัฒนธรรม  

ตัวชี้วัด

1.เรียนรู้ชีวิตของพืชวิธีการดูแลและรักษาพรรณไม้พื้นบ้าน

2.ระบุวิธีการดูแลรักษาพรรณไม้พื้นบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณต่างๆของจังหวัดจากข้อมูลที่รวบรวมได้

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ (Knowledge)

  1. การศึกษาข้อมูลพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนหรือท้องถิ่นของตน  การทำตัวอย่างพรรณไม้  การปลูกและการขยายพันธุ์
  2. การดูแลรักษาพรรณไม้  การอนุรักษ์พรรณไม้ในท้องถิ่น  เป็นต้น อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและคุณค่าที่ดีต่อการหวงแหนพฤกษศาสตร์ และทรัพยากรในท้องถิ่นของตน
  3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความเป็นไทยที่มีมรดกทางวัฒนธรรม  

ด้านทักษะ/กระบวนการ (Process)

  1. ผู้เรียนบอกวิธีการวิธีการดูแลและรักษาพรรณไม้พื้นบ้านได้
  2. ผู้เรียนได้ฝึกทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และทักษะกระบวนการต่างๆ
  3. ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นต่อการวิธีการดูแลรักษาวิธีการดูแลและรักษาพรรณไม้พื้นบ้านได้

ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude)

ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความเป็นไทยที่มีมรดกทางวัฒนธรรม 

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

🗹 1.ความสามารถในการสื่อสาร

🗹 2. ความสามารถในการคิด

🗹 3.ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

🗹 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

🗹 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

🗹 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์        

🗹 2. ซื่อสัตย์สุจริต

🗹 3. มีวินัย        

🗹 4. ใฝ่เรียนรู้

🗹 5. อยู่อย่างพอเพียง        

🗹 6. มุ่งมั่นในการทำงาน

🗹 7. รักความเป็นไทย              

🗹 8. มีจิตสาธารณะ

แนวคิดหลักในการจัดการเรียนรู้

1.รู้จัก        

2. รู้รัก

🗹 3. พิทักษ์หวงแหน

4. ตอบแทนภูมิปัญญา

สาระการเรียนรู้/เนื้อหา

บอกประโยชน์และสรรพคุณของพรรณไม้พื้นบ้านที่อยู่บริเวณต่าง ๆ จากข้อมูลที่รวบรวมได้

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

ครูนำภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี มาให้นักเรียนดูเปรียบเทียบกันอย่างละ ๓ ภาพ และเปิดวีดีทัศน์ เรื่อง ประเภทของสิ่งแวดล้อมให้นักเรียนดู https://www.youtube.com/watch?v=Uu0jlnMlT0Y

ขั้นสอน (ชั่วโมงที่ 1)

  1. แบ่งนักเรียนออกเป็น ๕ กลุ่ม(ขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของครูผู้สอน) ให้นักเรียนดูนิทานเรื่อง ต้นไม้ผู้ให้/สื่อ https://www.youtube.com/watch?v=8VZvoFkJ0eA แล้วช่วยกันสรุปสาระสำคัญของเรื่องที่ดู
  2. นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายตามแนวคำถามต่อไปนี้

–  นักเรียนคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมีอะไรบ้าง แต่ละปัญหามีผลต่อสุขภาพอนามัยอย่างไรบ้าง

–  นักเรียนมีวิธีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในแต่ละปัญหาอย่างไรบ้าง

–  นักเรียนคิดว่าในชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีปัญหาสิ่งแวดล้อมใดที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพราะอะไร

ขั้นสอน (ชั่วโมงที่ 2)

  1.  ครูสุ่มถามนักเรียนถ้านักเรียนเป็นผู้นำชุมชนจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไรบ้าง
  2. ให้แต่ละกลุ่มสรุปผลการอภิปราย แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  3. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น แล้วให้นักเรียนบันทึกสรุปส่งครู
  4. ครูเปิดบทร้อยกรอง ไม้ดอกไม้ประดับ บนจอทีวี ให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน

ไม้ดอกไม้ประดับ

                                ไม้ดอกไม้ประดับ                 จัดไว้สำหรับบ้านเรือนของเรา

                ช่วยกันดูแลไม่ให้แห้งเหี่ยวเฉา           ต้นไม้ของเรารดน้ำพรวนดินเอาไว้

                ไม้ดอกสีสดงามดี                                 อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมชื่นใจ

                เราปลูกและถนอมเอาไว้                     เราไม่เด็ดดอกไม้เอาไว้ดูคนเดียว

🖙 เมื่ออ่านจบให้นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในกลุ่มของตนว่า บทร้อยกรองนี้สอดคล้องกับชื่อเรื่องพิทักษ์สิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไรแล้วนำเสนความคิดเห็นของกลุ่มหน้าชั้นเรียน                                                                           

ขั้นสรุป

นักเรียนเขียนสรุปวิธีพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และประโยชน์ของการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นแผนภาพความคิด

สื่อการเรียนรู้

– ใบงาน

– วิดีทัศน์ เรื่อง ประเภทของสิ่งแวดล้อม

– สื่อการเรียน วีดีทัศน์เรื่อง ต้นไม้ผู้ให้

การวัดผลประเมินผล

วิธีการวัดและประเมินผล

  1. ประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  2. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  3. ประเมินแนวคิดหลักในการจัดการเรียนรู้
  4. ตรวจความถูกต้องในการทำแบบฝึก 

เครื่องมือวัดและประเมินผล

  1. แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  2. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  3. แบบประเมินแนวคิดหลักในการจัดการเรียนรู้
  4. แบบประเมินผลงาน

เกณฑ์การประเมินการวัดผลและประเมินผล

  1. ประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนได้ ระดับดี ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  2. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้ ระดับดี ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  3. ประเมินแนวคิดหลักในการจัดการเรียนรู้ ระดับดี ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
            3. ทำกิจกรรมในใบงานและแบบฝึกหัดได้ถูกต้อง ร้อยละ 80 ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน

แหล่งสืบค้นข้อมูล

เรื่อง ช่องทางการสืบค้น
ประเภทของสิ่งแวดล้อม https://www.youtube.com/watch?v=Uu0jlnMlT0Y
ต้นไม้ผู้ให้ https://www.youtube.com/watch?v=8VZvoFkJ0eA

การวัดผลประเมินผล

วิธีการวัดและประเมินผล

  1. ประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  2. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  3. ตรวจความถูกต้องในการทำแบบฝึก 
  4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *