ต้นรัง

ชื่อภาษาอังกฤษ

Burmese sal

ชื่อวิทยาศาสตร์

Shorea siamensis

ความหมาย

เป็นต้นไม้ที่อยู่ในประเภทของไม้ยืนต้นที่สามารถผลัดใบขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ต้นรังมีความสูงกว่า 10-30 เมตร จะมีก้านใบจะมีลักษณะที่งอและคด เป็นไม้พุ่ม ส่วนของเปลือกไม้จะเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล มีน้ำยางสีเหลืองไหลออกมา มักจะขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง

ความเชื่อ

 

ราคาโดยเฉลี่ย(กล้าไม้,เมล็ดพันธุ์,ไม้ล้อม)

 

ต้นรัง ภาษาอังกฤษ: Burmese sal

ต้นรัง ชื่อวิทยาศาสตร์: Shorea siamensis 

วงศ์ของต้นรัง: DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่นของต้นรัง: เปา เปาดอกแดง, รัง, เรียง เรียงพนม, ลักป้าว,  ฮัง, เหล้ท้อ, เหล่บอง 

ลักษณะของต้นรัง

ต้นรัง เป็นต้นไม้ที่อยู่ในประเภทของไม้ยืนต้นที่สามารถผลัดใบขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ต้นรังมีความสูงกว่า 10-30 เมตร จะมีก้านใบจะมีลักษณะที่งอและคด เป็นไม้พุ่ม ส่วนของเปลือกไม้จะเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล มีน้ำยางสีเหลืองไหลออกมา มักจะขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง เป็นพันธุ์ไม้ที่ทนแล้ง และทนไฟได้ดีมาก พบในประเทศมาเลเซีย พม่า ลาว เขมร และเวียดนาม สำหรับประเทศไทยพบต้นรังได้มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบในทุกภาค ยกเว้นในภาคใต้ 

ต้นเต็ง
https://medthai.com

ส่วนประกอบของต้น

ใบต้นรัง

เป็นใบชนิดใบเดี่ยว ซึ่งมักจะออกใบแบบเรียงสลับกัน ซึ่งใบต้นรังนั้นผู้คนมักนิยมเรียดสั้นๆว่า ใบรัง มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์รูปไข่กว้างงถึงรูปขอบขนาน บริเวณปลายใบจะมีความเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะคล้ายกับรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ขนาดใบรังจะมีความยาวโดยประมาณอยู่ที่ 10-12.5 เซนติเมตร และมีความยาวของใบอยู่ที่ 10-18 เซนติเมตรโดยประมาณ ผิวสัมผัสของใบเรียบ ใต้ใบต้นรังจะมีขนขนาดเล็กขึ้นบางๆ เส้นแขนงใบจะมีประมาณ 10-15 เส้น ก้านใบจะมีความยาว 2.5-3.5 มิลลิเมตร และมีความกว้าง 1.5-1.8 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย แม้แต่ในช่วงผลัดใบ แตกใบอ่อนสีแดงมองไปแล้วสวยงาม

ใบต้นรัง
https://medthai.com

ดอกของต้นรัง

ต้นรังจะออกเป็นช่อ ซึ่งจะออตามซอกใบและบริเวณปลายกิ่ง ดอกของต้นรังจะผลิบานก่อนการแตกของใบอ่อน ซึ่งลักษณะของดอกจะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ส่วนดอกย่อยจะมีสีเหลือง ให้กลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ดอกสามารถหลุดร่วงลงมาได้ง่าย แต่ละช่อมักจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-20 ดอก ในช่วงมีนาคมถึงเมษายนจะออกดอกสีเหลืองอร่าม ช่วยส่งกลิ่นที่หอมอ่อนๆกระจายไปทั่วบริเวณที่ปลูกต้นรังไว้

ต้นจิก ต้นรัง
https://www.technologychaoban.com

ผลของต้นรัง

ผลของต้นรังเป็นชนิดผลแบบผนังชั้นในแข็ง ซึ่งลักษณะของผลนั้นจะคล้ายกับรูปไข่ มีความกว้างโดยประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และมีความยาวโดยประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผลของต้นรังจะเป็นเอกลักษณ์ในส่วนของปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงมีด้วยจำนวน 5 ปีก มีลักษณะคล้ายกับรูปช้อน มีเส้นแบ่งตามความยาวชัดเจน 

ต้นรังคู่

วิธีการปลูกต้นรัง

  1. ศึกษาลักษณะของต้นรัง ไม่ว่าจะดินที่เหมาะสม อุปกรณ์สำหรับการเพาะปลูก สภาพแวดล้อมในการปลูกต้นรัง ปริมาณน้ำที่ต้องรดในแต่ละวัน ปริมาณปุ๋ยที่ต้องบำรุงดูแล ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวหรือนำไปใช้งาน เป็นต้น
  2. เลือกดินหรือสภาพแวดล้อมที่ต้นรังสามารถเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งควรเป็น
  3. ขุดหลุมเพื่อทำการโดยเมล็ดพันธุ์ของต้นรังลงไปในแต่ละหลุม จากนั้นนำดินมาฝังกลบเมล็ดพันธุ์ แล้วรดน้ำพอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป หรือไม่โรยเมล็ดพันธุ์ทิ้งไว้ที่ใกล้ๆขอนไม้ เพื่อให้ต้นรังเจริญเติบโตเองโดยธรรมชาติ
  4. หมั่นดูแลรักษาต้นรัง แต่ต้นรังไม่จำเป็นต้องรดน้ำหรือใส่ปุ๋ย เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่ชอบที่แห้งแล้ง ต้นรังจะแตกกิ่งก้านสาขา เมื่อผ่านหน้าแล้งไปได้สักพัก ซึ่งจะถึงฤดูฝน แต่ในช่วงฤดูผลจะมีช่วงที่แดดออก 2-3 วัน ก็สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้เรื่อยๆ
ปลูกต้นรัง

สรรพคุณของต้นรัง

  • ทางภาคเหนือของประเทศไทย มักจะนำใบรังนำมาต้มกับน้ำ เพื่อใช้ในการอาบน้ำ ซึ่งมีสรรพคุณในการเป็นยาแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  • ทางภาคอีสานของประเทศไทย มักจะใช้เปลือก ในการรักษาโรคท้องร่วง และใช้ใบ โดยการนำมาตำ เพื่อพอกรักษาแผลพุพอง
  • ในส่วนที่เรียกว่า ชันยาง จากต้นรัง สามารถนำมาใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้หรือน้ำมันยาง เพื่อใช้สำหรับยาแนวเรือ เครื่องจักสานต่างได้ดี
กล้าต้นรัง
https://medthai.com

ประโยชน์ของต้นรัง

  • การนำไม้มาใช้ในงานการก่อสร้างบ้านเรือน เพราะไม้รังเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความแข็งแรงทนทาน จึงเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงทนทานมากเป็นพิเศษ เพราะไม้รังสามารถรับน้ำหนักมาก ๆ ได้เป็นอย่างดี 
  • มีช่อดอกขนาดใหญ่สีเหลืองอ่อนออกเต็มต้นและให้กลิ่นหอมแล้ว จึงมักนำมาทำเป็นน้ำหอมกลิ่นอ่อนๆ วางจำหน่ายกัน 
  • ต้นรังเป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเปรียบได้เลยว่าเป็นต้นไม้ที่มีความหายต่อชาวอุดรธานีเป็นอย่างมาก

ที่มา

http://www.phargarden.com

https://www.technologychaoban.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *